รถเข็น (0 ชิ้น)
 
"medical anthropology at home"

เขียนโดย suksala
อังคาร 27 พฤษภาคม 2557 @ 03:57


“สนาม” ของนักมานุษยวิทยาการแพทย์เป็นอย่างไร เมื่อนักมานุษยวิทยากลับไปศึกษาสังคมตนเอง ศุกร์เสวนา วันที่ 30 นี้บ่ายโมงครึ่ง
 

 
ศุกร์เสวนา
หัวข้อ "The Medical Anthropology at Home, Hospital Ethnography and Bed as the Filed of Research"
 
วันที่ 30 พ.ค. 2557 เวลา 13.00-16.00 น. 
ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ชั้น 3 
อาคารคลังพัสดุ ซอยสาธารณสุข 6 กระทรวงสาธารณสุข
 
ดำเนินรายการและนำอภิปราย โดย
นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
 
บรรยายสรุปและนำเสวนา โดย
ประชาธิป กะทา  นักวิจัย สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
 
      ในปลายทศวรรษ 1990 เครือข่ายนักมานุษยวิทยาการแพทย์ยุโรป (เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ออสเตรีย อิตาลี นอร์เวย์) เริ่มต้นหันกลับมาศึกษาสังคมตนเอง ประเทศตนเอง จากยุคก่อนหน้าที่นักมานุษยวิทยาโดยจารีตนิยมศึกษาสังคมอื่น หรือสังคมที่ห่างไกลจากประเทศตนเอง ภายใต้กลุ่มที่ชื่อ “The Medical Anthropology at Home” บนพื้นฐานอิทธิพลสำคัญของแนวคิดหลังอาณานิคม (Post colonialism), การวิพากษ์วัฒนธรรมงานเขียนทางมานุษยวิทยา (Writing culture), การตรวจสอบทวินิยมการแยกระหว่าง ธรรมชาติกับวัฒนธรรม (Nature/Culture) เป็นต้น 
      ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงส่งผลต่อการตรวจสอบญาณวิทยา ภาวะวิทยาของประเด็นการศึกษา และระเบียบวิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาการแพทย์และมานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรม เช่น การตั้งคำถามกับตัวตนและความเป็นอื่นของนักวิจัย (self/other) หากรวมทั้งทำให้เกิดระเบียบวิธีการศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาในประเด็นและพื้นที่ใหม่ๆ ที่ชัดเจนขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของ “ชาติพันธุ์วรรณนาโรงพยาบาล” (Hospital Ethnography) และ “มานุษยวิทยาการศึกษายา” (Pharmaceutical Anthropology) นอกจากนั้น “สนาม” (Fieldwork) ของนักมานุษยวิทยาการแพทย์กลุ่ม medical anthropology at home ไม่ใช่หมู่บ้านชนบทเล็กๆ หรือสังคมชนเผ่าที่เกาะห่างไกลผู้คน เหมือนสนามของนักมานุษยวิทยาโดยจารีตยุคก่อนหน้า หากเป็น คลินิก โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ สถานบำบัดผู้ป่วย ศูนย์ผู้อพยพ ฯลฯ โดยสนามเหล่านี้ ในยุคก่อนหน้านักมานุษยวิทยาโดยจารีตไม่นับว่าเป็นสนาม หรือควรเป็นพื้นที่ที่ควรศึกษาโดยนักชาติพันธุ์วรรณนา
      การสัมมนาครั้งนี้ จะเริ่มต้นด้วยการบรรยายสรุปความเป็นมาและพัฒนาการของนักมานุษยวิทยาการแพทย์ กลุ่ม medical anthropology at home และสรุปใจความสำคัญและระเบียบวิธีการศึกษาของชาติพันธุ์วรรณนาโรงพยาบาล จากนั้น จะสัมมนาผ่านการอ่านบทความวิชาการเพื่อให้เห็นมิติของ “สนาม” ของนักมานุษยวิทยาการแพทย์กลุ่ม medical anthropology at home ผ่านรูปแบบงานเขียนในลักษณะการตรึกตรองสะท้อนคิด
 
เอกสารประกอบ
1. เอกสารประกอบการบรรยายความเป็นมาและพัฒนาการของนักมานุษยวิทยาการแพทย์กลุ่ม medical anthropology at home
 
 
 
2. เอกสารประกอบการบรรยาย “ชาติพันธุ์วรรณนาโรงพยาบาล”
 
 
3. เอกสารเพื่อการอ่านสัมมนาหัวข้อ “สนาม” ของนักมานุษยวิทยาการแพทย์กลุ่ม medical anthropology at home
 
Van Dongen, Els. 2007. Anthropology on beds: the bed as the field of research. Anthropology Today. 23 (6): 23-26
(เอกสารหลักของการสัมมนาครั้งนี้)
 
 
เว็บเพจ ประวัติ และผลงาน 
- Els Van Dongen หลังการเสียชีวิตของ Van Dongen ด้วยโรคมะเร็ง เพื่อนๆ นักมานุษยวิทยาการแพทย์กลุ่ม medical anthropology at home จัดทำเวปเพจรวบรวมผลงานของเธอ http://www.elsvandongen.nl/
 
 
รวมทั้งจัดพิมพ์หนังสือรวมบทความจากเพื่อนๆ นักมานุษยวิทยาการแพทย์ทั้งในกลุ่ม medical anthropology at home ลูกศิษย์
และนักมานุษยวิทยาการแพทย์สำนักคิดอื่นๆ ชื่อ Theory and Action Essays for an Anthropologist 

แผนที่
 
------------------------------------------------
 

ที่มาภาพ : http://hanoiparadisehotel.com/ 



รวมบทความประกอบการประชุมวิชาการออนไลน์ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
หนังสือจดหมายเหตุ COVID-19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤต (ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2563)
สไลด์ประกอบการอบรม "โครงการวิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น"
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน