รถเข็น (0 ชิ้น)
 
ภัยพิบัติชุมชน

เขียนโดย suksala
อังคาร 21 ตุลาคม 2557 @ 10:36


แผนงาน
ภัยพิบัติชุมชน
 
โครงการ “เรียนรู้-อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ และพลวัตชุมชน” 
(Learning from Disaster, Living with Risk: Cultural Ecology, Media, State and Community Dynamics)
 
สร้างแนวทางและวิธีการทำงานด้านภัยพิบัติ
เรียนรู้จากประสบการณ์บนพื้นฐานแนวคิดและทฤษฎีที่เข้มแข็ง  
 
ทศวรรษที่ผ่านมาเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ๆ เช่น สึนามิ และอุทกภัยครั้งใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างกว้างขวาง 
การตอบสนองต่อภัยพิบัติเป็นกระบวนการทางสังคมที่มีความต่อเนื่อง (Chronicity) โดยสัมพันธ์กับบริบททางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและการเมือง ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็วจากแรงกดดันของระบบอุตสาหกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และปัญหาทางสุขภาพ
 
ปัจจุบัน สถานะความรู้ของการจัดการภัยพิบัติถูกท้าทาย รื้อถอน สังเคราะห์บทเรียนเพื่ออธิบายปรากฏการณ์รูปธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ จึงเห็นว่าการสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน 
โดยอาศัยแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community Cultural Ecology Approach) เป็นแก่นแกนในการรวบรวมองค์ความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอันนำไปสู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพทั้งระดับท้องถิ่นและนักวิชาการระดับชาติ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) เพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีแบบองค์รวมทั้งในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม 
 
ทั้งยังเป็นเครื่องมือบูรณาการความรู้ความเข้าใจภัยพิบัติในมุมมองทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข สู่ปฏิบัติการรับมือภัยพิบัติของชุมชนได้ดียิ่งขึ้น
 
กระบวนการทำงาน
1. พัฒนาความรู้และสมรรถนะด้าน “วัฒนธรรมภัยพิบัติ” แก่ผู้ปฏิบัติการด้านภัยพิบัติ นักวิจัยและผู้ที่สนใจ
2. พัฒนาเครื่องมือเรียนรู้ภัยพิบัติ คู่มือประเมินภัยพิบัติโดยชุมชนที่ร่วมในงานวิจัยได้ประโยชน์จริงจากกระบวนการวิจัยได้เรียนรู้และมีความเข้มแข็งมากขึ้นในการรับมือ
3. เพื่อมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการทั้งในด้านการทำงานแบบสหวิชาการและแนวคิดใหม่ๆ ในด้านภัยพิบัติศึกษา (Disaster studies) ในประเทศไทย

 






การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม
การใช้ยาปฏิชีวนะในสังคม
แรงบันดาลใจจากในหลวง ร.๙
สถาปัตยกรรมกับการเยียวยา
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน