รถเข็น (0 ชิ้น)
 
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "นักวิจัยวัฒนธรรมความเสี่ยงสุขภาพครั้งที่ 2: การนำเสนอข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นและการพัฒนาประเด็นวิจัย"

เขียนโดย
พฤหัส 02 กุมภาพันธ์ 2560 @ 07:34


CHR Studies Workshop Module 02: Fieldwork Presentation & Research project development

       สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักวิจัยวัฒนธรรมความเสี่ยงสุขภาพ ครั้งที่ 2: การนำเสนอข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นและการพัฒนาประเด็นวิจัย” เมื่อวันที่ 22-27 มกราคม 2560 ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้นักวิจัยในโครงการได้เรียนรู้หลักการและฝึกปฏิบัติทักษะการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตบริบททางสังคม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก การจัดการข้อมูลภาคสนามในงานวิจัยเชิงคุณภาพ และการประยุกต์มิติสังคมวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการดำเนินงานมาตรการด้านสุขภาพ (Health intervention) ซึ่งจะทำให้นักวิจัยสามารถพัฒนาคำถามวิจัย วัตถุประสงค์ และคำถามการสัมภาษณ์สำหรับเก็บข้อมูลภาคสนามได้ชัดเจนขึ้น

 

 

     กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญของการอบรมในครั้งนี้ คือ “กระบวนการกลุ่ม” โดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัวจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามของแต่ละคน มาร่วมแลกเปลี่ยน คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยง และสังเคราะห์ประเด็นวิจัยให้มีความลุ่มลึกยิ่งขึ้น ผ่านกิจกรรม “การพัฒนาประเด็นศึกษาในการวิจัยเชิงคุณภาพ” คือ การนำเนื้อหาของข้อมูลภาคสนามมาจัดประเภทเป็น “ประเด็น” หรือ Theme ที่สำคัญหรือน่าสนใจ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยในการตั้งต้นกรอบคิด เกิดการพัฒนาคำถามวิจัยให้แหลมคม และนำไปสู่การต่อยอดความคิดเรื่องการเก็บข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติม ด้วยการเรียนรู้แบบต่อเนื่องด้วยการฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆด้วยตนเอง คือ “เทคนิคการเก็บข้อมูลภาคสนามในการวิจัยเชิงคุณภาพ: การสัมภาษณ์และการสังเกต” รวมถึงเรียนรู้เรื่อง “การออกแบบการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ” เพื่อให้ได้แนวคำถามและแนวทางการสังเกตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 

 

 

       นอกจากนั้น นักวิจัยยังได้ไปเรียนรู้นอกสถานที่เกี่ยวกับ “มุมมองและวิธีการทำงานกับเยาวชนอย่างสร้างสรรค์” ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม โดยคุณทิชา ณ นคร หรือ ป้ามล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ที่มาช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการมองประชากรกลุ่มเสี่ยงในฐานะผู้ที่เต็มไปด้วยศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่สามารถคิด เรียนรู้ ตัดสินใจ และเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากที่นี่จะเป็นวัตถุดิบทางความคิดที่สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจ “การออกแบบมาตรการทางสุขภาพ” ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเรียนรู้การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ผ่านหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ “การมองหาแบบแผน” หรือ Pattern ไม่ว่าจะเป็นแบบแผนพฤติกรรม แบบแผนทางความคิด ความรู้สึก หรือความสัมพันธ์ทางสังคม

       สำหรับหน่วยการเรียนรู้ครั้งต่อไป จะเป็นการฝึกเขียนงานวิจัยที่สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ซึ่งระหว่างนั้นจะมีการจัดกิจกรรมทางวิชาการทั้งในส่วนกลาง ณ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ และระดับพื้นที่ ในพื้นที่วิจัยหรือสถาบันสังกัดของนักวิจัยในโครงการ โปรดติดตามข่าวสาร ... Facebook: Culture and Health Risks

 

ดาวน์โหลดสไลด์ประกอบการอบรม …

- การลดอันตรายในชีวิตประจำวัน (Harm reduction from below)

-  ข้อมูลสนามในเรื่องมาตรการสุขภาพ (Health intervention) 

- การใช้แนวคิดเรื่องเล่าศึกษาความเสี่ยงสุขภาพ (Narrative Medicine)

- ทักษะพื้นฐานการสังเกตในการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Observe skill)

- วัฒนธรรมผู้เชี่ยวชาญ (Professional culture)

- แนวคิดความทนทุกข์ทางสังคมกับการเก็บข้อมูลความทุกข์ (Social suffering)

- การสัมภาษณ์และบริบททางวัฒนธรรม (Interview&cultural context)

 


รับสมัครเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา
ขอเชิญผู้ที่สนใจ เข้าร่วมฟัง Facebook Live เรื่อง Narratives for Knowledge Management เรื่องเล่าเพื่อการจัดการความรู้ในวิกฤตโรคระบาด
ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวันครบรอบ 2 ปี หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ
ขอเชิญร่วมพิธีไหว้ครูหมอไทย ตระกูลแพทยานนท์ ประจำปี 2563
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน