รถเข็น (0 ชิ้น)
 
สุขภาพองค์รวมก้บสุขภาพสังคม

เขียนโดย admin
อาทิตย์ 29 เมษายน 2550 @ 17:00


โดย พระไพศาล วิสาโล
แนวคิดเรื่องสุขภาพองค์รวม มาจากความคิดพื้นฐานที่ว่า มนุษย์
แต่ละคนนั้นประกอบด้วยกายและใจ ขณะเดียวกันก็มิอาจแยกตัวอยู่โดดๆ
ได้ หากยังต้องมีความสัมพันธ์กับผู้คน เริ่มจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ไปจนถึง
ผู้คนในสังคม ด้วยเหตุนี้กายและใจจะต้องสัมพันธ์กันด้วยดี ควบคู่ไปกับ
ความสัมพันธ์ทางสังคม ถึงจะทำให้ชีวิตมีความเจริญงอกงามหรือมีสุขภาพ
ที่ดีได้

แนวคิดนี้จึงมิได้มองว่า สุขภาพหมายถึงความปลอดโรค (disease)
เท่านั้น เพราะแม้จะปลอดโรคหรือปัจจัยทางกายภาพที่เป็นตัวก่อโรค
(pathogen) เช่น เชื้อโรค สารพิษ ก็ใช่ว่าบุคคลจะมีสุขภาพหรือสุขภาวะที่
ดีได้ มีผู้ป่วยไม่น้อยที่รู้สึกอ่อนเพลีย เวียนหัว ทั้งๆ ที่อวัยวะทุกอย่างเป็น
ปกติ บางคนหูหนวก ตาบอด หรือเป็นอัมพาต โดยไม่พบรอยโรคหรือความ
ผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อสาวหาสาเหตุกลับพบว่าต้นตออยู่ที่จิต
ใจ เช่น ความเครียด ภาวะกดดันในจิตไร้สำนึก ซึ่งอาจสืบเนื่องจากปัญหา
ความสัมพันธ์กับผู้ใกล้ชิด

แนวคิดดังกล่าวโยงมาสู่ทัศนะเกี่ยวกับโรค แนวคิดแบบสุขภาพองค์
รวมมองว่าโรคนั้นมิได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งโดดๆ แม้กระทั่งโรคติด
เชื้อ ก็มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นนอกจากตัวเชื้อโรคเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง
สุขภาพองค์รวมมีทัศนะว่า โรคแต่ละโรคนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ มีหลาย
องค์ประกอบเข้ามาเกี่ยวข้อง และองค์ประกอบเหล่านั้นมิได้มีแค่องค์
ประกอบทางกายภาพ (เช่น เชื้อโรค สารพิษ) เท่านั้น หากมักมีองค์ประกอบ
ทางด้านจิตใจและความสัมพันธ์ทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ อาทิ
เช่น ความเครียด ดังที่นายแพทย์เฮอเบิร์ต เบนสัน แห่งคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ความเจ็บป่วยของผู้ที่ไปหาหมอ
ร้อยละ 60-90 เป็นเรื่องกาย-ใจ และเกี่ยวข้องกับความเครียด”
แม้กระทั่งโรคติดเชื้อ ทัศนะแบบองค์รวมก็เห็นว่ามิได้เกิดจากเชื้อ
โรคหรือจุลชีพอย่างเดียว หากยังเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
หากระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติหรือทำงานได้ดี เชื้อโรคก็ไม่สามารถทำให้เกิด
ความเจ็บป่วยได้ ดังเห็นได้ว่าคนปกตินั้น มีเชื้อโรคหลายอย่างอยู่ในร่างกาย
แต่ก็ไม่เจ็บป่วย ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันสามารถควบคุมเชื้อโรค
นั้นไม่ให้ออกฤทธิ์ได้

นอกจากนั้นยังมีหลายโรคด้วยซ้ำที่เกิดจากความผิดพลาดของระบบ
ภูมิคุ้มกันเอง หรือมีปฏิกิริยาเกินเหตุ จนทำอันตรายแก่ร่างกายและเป็นภัย
ถึงชีวิต เช่น โรคซาร์ส ซึ่งเมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วตัวการที่ทำให้ปอด
อักเสบและบวมจนถึงตายคือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หาใช่ไวรัสซาร์ส
ไม่ ซาร์สเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตื่นตัวอย่างโกลาหล กล่าว
อีกนัยหนึ่งทัศนะแบบองค์รวมมองว่าโรคติดเชื้อมิได้เกิดจากเชื้อโรคโดดๆ
หากเกิดจากความสัมพันธ์ที่เสียสมดุลระหว่างระบบภูมิคุ้มกันกับเชื้อโรค
และหากสาวไปให้ถึงที่สุดก็มักจะพบว่าความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
นั้นมักเกี่ยวข้องกับความเครียดในจิตใจ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า
แม้แต่โรคติดเชื้อก็ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาวะ (หรือการขาดสุขภาวะ) ทางใจ...

สุขภาพของบุคคลแม้กระทั่งในทางกายนั้น ผูกพันแนบแน่นกับสุข--
ภาวะทางใจและทางสังคม จิตใจที่แช่มชื่น เป็นสุข ไม่เครียด ความสัมพันธ์
ที่ราบรื่น ไม่ร้าวฉาน เป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของบุคคล หากมีปัญหา
ทางจิตใจและความสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว บุคคลก็สามารถล้มป่วยได้ โดย
ที่การล้มป่วย (illness) นั้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับโรค (disease) เลย ด้วย
เหตุนี้ การปลอดโรคจึงไม่ใช่หลักประกันแห่งสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะ
ถึงแม้ไม่เป็นโรค แต่ก็อาจล้มป่วยได้ด้วยสาเหตุทางจิตใจและความสัมพันธ์
ทางสังคม ทัศนะที่ว่า สุขภาพหมายถึงการปลอดโรค จึงไม่ครอบคลุมเพียง
พอ นอกจากจะเน้นเฉพาะมิติทางกายภาพแล้ว ยังเป็นการมองสุขภาพใน
เชิงลบ เพราะสุขภาพที่แท้จริงเกิดจากสภาวะที่เป็นบวกทั้งในทางกาย ใจ
และสังคม คือร่างกายแข็งแรง ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี ใจเป็น
สุข แช่มชื่น รู้จักมองในแง่บวก ส่วนความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็เป็นไปอย่าง
ราบรื่น กลมเกลียวกัน

บางส่วนจากบทความสุขภาพองค์รวมกับสุขภาพสังคม
โดย พระไพศาล วิสาโล
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี
การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่ 8
“Humanized Healthcare... คืนหัวใจให้ระบบสุขภาพ”
13-16 มีนาคม 2550
ศูนย์การประชุม IMPACT เมืองทองธานี


หนังสือชุดงานคือความดี เล่ม 7 : ฟ้าหลังฝน
หนังสือชุดงานคือความดี เล่ม 6 : หุ้นส่วนความดี
หนังสือชุดงานคือความดี เล่ม 5 : ก่อนโลกจะขานรับ
หนังสือชุดงานคือความดี เล่ม 4 : กำลังใจและความหวัง
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน