รถเข็น (0 ชิ้น)
 
ชีวิตมหัศจรรย์เพราะการเรียนรู้

เขียนโดย admin
ศุกร์ 26 พฤษภาคม 2549 @ 17:00


ชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 
พ่อหลวงจอนิ โอโดเชา ปราชญ์ชาวบ้านชาวปกากะญอเคยพูดถึงความมหัศจรรย์ของชีวิตที่แม้สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ถือว่าวิเศษพิสดารก็ไม่อาจเทียบได้ 
 

พ่อหลวงบอกว่าหากเราพิจารณาปลาซิวตัวเล็ก ๆ ที่แหวกว่ายอย่างปราดเปรียวในหนองน้ำ ให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นได้ไม่ยากว่า แม้สิ่งที่เราเห็นจะเป็นเพียงแค่ปลาซิวตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งแต่ก็มีความมหัศจรรย์ของชีวิตที่น่าทึ่งและน่าพิศวง 

เรียกว่าน่าทึ่งและน่าพิศวงเสียยิ่งกว่ายานอวกาศขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้นเสียอีก

เพราะชีวิตมีความซับซ้อนพิสดารอย่างน่าอัศจรรย์
ที่ว่าชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ไม่ใช่เพียงเพราะสิ่งมีชีวิตนั้นกินอาหาร หายใจ ขับถ่าย หรือสืบพันธุ์ได้ แต่เพราะสิ่งมีชีวิตมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นพลวัตร มีความยืดหยุ่นเคลื่อนไหว

และที่สำคัญคือมีศักยภาพในการเรียนรู้

แม้ในสัตว์เซลล์เดียวอย่างเช่น ตัวอะมีบา การจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมก็ต้องมีการเรียนรู้ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเรียนรู้ที่จะแยกแยะสารต่าง ๆ ในธรรมชาติ รู้ความเป็นกรดเป็นด่าง รู้ว่าสารใดเป็นสารอาหารหรือสารพิษ และยังต้องรู้จักเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง

หรือแม้แต่พืชที่ไม่มีระบบประสาทอย่างที่เรารู้จักก็ยังสามารถรู้และตอบสนองต่อแสงสว่าง ความชื้น หรือฤดูกาลได้

ฟรานซิสโก วาเรลา (Francisco Varela) และฮัมเบอร์โต มาตูรานา (Humberto Maturana) เป็นนักประสาทวิทยา (neuroscientist) ที่ศึกษาระบบซับซ้อนของชีวิตและได้ค้นพบสิ่งที่ต่อมาได้รับการเรียกขานว่า ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ซานติเอโก (Santiago Theory of Cognition)

เขาพบว่า การเรียนรู้เป็นลักษณะร่วมกันของทุกระบบชีวิต แม้ชีวิตอาจมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ทุกระบบชีวิตจะมีแบบแผนประการหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน แบบแผนที่ว่านี้ก็คือการเรียนรู้นั่นเอง (Maturana & Varela 1980)

ชีวิตในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตที่เรียบง่ายของสัตว์เซลล์เดียว หรือสัตว์ชั้นสูง มีการเรียนรู้เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน

สำหรับมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทที่เป็นโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและวิจิตรพิสดารที่สุดในจักรวาลแล้ว ศักยภาพการเรียนรู้จึงเป็นไปได้อย่างไร้ขอบเขต

จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้นี่เองที่เป็นศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ เพราะหากเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์คือ การเข้าถึงซึ่งความดี ความงาม และความจริงของชีวิตแล้ว

เราจะบรรลุเป้าหมายสูงสุดนี้ได้ก็ด้วยการเรียนรู้

นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์



รวมบทความประกอบการประชุมวิชาการออนไลน์ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
หนังสือจดหมายเหตุ COVID-19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤต (ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2563)
สไลด์ประกอบการอบรม "โครงการวิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น"
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน