รถเข็น (0 ชิ้น)
 
สุขศาลาฉบับใหม่ ออกแล้ว..

เขียนโดย gam pata
พุธ 10 มิถุนายน 2552 @ 08:28


สุขศาลาฉบับล่าสุดนำเสนอเรื่องนวัตกรรมสุขภาพชุมชน คัดเลือกนวัตกรรมดีเ่ด่นอ้นเป็นผลงานสร้างสรรค์จากบุคลากรระดับปฐมภูมิกว่าสิบชิ้น เพื่อเป็นแบบอย่างการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งของคนทำงานสุขภาพชุมชน

 

พาเยี่ยมศูนย์สุขภาพชุมชนชาววัง จังหวัดอุดรธานี พร้อมภาพสี่สีของฝากจากงานมหกรรมสุขภาพชุมชน 2552 
และคอลัมน์ประจำเีพียบ อาทิ
- “บันได 6 ขั้นสร้างสรรค์ให้ไอเดียกระฉูด” จุดเริ่มต้นของการมีชีวิตที่สร้างสรรค์ ท้าทาย และสนุก 
   กลเม็ดเด็ด 6 ข้อ ของคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์  
- “กล่องยาอัจฉริยะ” ทำไมจึงอัจฉริยะ หาคำตอบได้ในคอลัมน์ ‘เข้าตากรรมการ’ หน้า22

- ไขข้อข้องใจ ทำอย่างไรจึง “ไม่ต้องเวียนหัวกับอาการปวดศีรษะ” โดยคุณหมอสุรเกียรติ อาชานานุภาพ
- “งานวิจัยที่ดี เริ่มที่ความสงสัย” ทำอย่างไรจึงจะได้ผลงานวิจัยที่ดีและมีคุณภาพ
   ติดตามได้ในคอลัมน์ ‘จัดการความ (ไม่) รู้’


พบกับจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ๆ ให้เข้มข้นและได้อรรถรสที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ในคอลัมน์ ‘เครื่องมือมหัศจรรย์’ ที่นำเสนอความรู้ เทคนิควิธี และการนำเครื่องมือไปใช้ในชีวิตจริง
ของคนทำงานสุขภาพชุมชน และ คอลัมน์ ‘ประวัติศาสตร์สุขภาพชมชน’ รากฐานวงการระบบสุขภาพไทย


สนใจสอบถามและสมัครสมาชิกได้ที่
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
ชั้น 3 อาคาร 88/37 (คลังพัสดุ)
ซอยสาธารณสุข 6 กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
E-mail : suksala@gmail.com

 

ติดตามเรื่องราวที่เข้มข้นเต็มรูปแบบได้ที่ www.suksala.org  เร็ว ๆ นี้...



รวมบทความประกอบการประชุมวิชาการออนไลน์ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
หนังสือจดหมายเหตุ COVID-19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤต (ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2563)
สไลด์ประกอบการอบรม "โครงการวิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น"
ดูทั้งหมด »
 

 เรื่องเล่าสนุก


สมาชิกทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1 Re: อุทิศแล้วอาจดวงดี
อุทิศแล้วอาจดวงดี

“คนเรามิได้เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม เพราะชีวิตของเรามิได้ขาดทุนล้มละลาย ที่จะต้องมาชดใช้หนี้ชีวิต
อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เรามีทั้งต้นทุนที่เป็นทรัพย์สิน(บุญ)และหนี้สิน(บาป)ของชีวิตติดตัวมา
เราเกิดมาเพื่อที่จะสร้างทรัพย์สินให้มากขึ้น และชดใช้หนี้สินที่ทำไว้ให้หมดไปโดยเร็วขณะเดียวกันก็สังวรระวังที่จะไม่สร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเป็นเช่นนี้ไม่ช้าหนี้สินเก่าก็จะหมดไป ชีวิตก็จะเป็น.... ไท”

ฉันมีโอกาสไปทำบุญที่วัด เกือบทุกครั้งหวนระลึกนึกถึงคำเทศนาของพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ วัดตาดน้ำพุ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อครั้งไปกราบนมัสการท่าน พร้อมพระอาจารย์สาย กัณทสีโร ราวปี พ.ศ. 2546 คำสอน คำเทศนาของท่าน ฟังแล้วไม่มีคำใหม่หรือกรุเก่าโบราญจนยากที่จะเข้าใจ หากแต่ ฝังแฝงไว้ด้วยความหมายอันลึกซึ้งและมีคุณค่าต่อฉันมากเหลือเกิน ดังกังวานและถูกลิขิตในจิตของฉันที่หวนรำลึกถึงท่าน หรือบ่ายหน้าเข้าวัดทุกครั้งไป เป็นภาพปรากฏขึ้นในห้วงมโนสำนึกเช่นนี้ ทำให้ฉันเกิดปิติสุข และมีพลังอยากชวนสังขารตัวเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานได้พบ ได้มีโอกาสสัมผัส ถึงแม้จะไม่ใช่วัดพระอาจารย์ หากแต่เป็นวัดอื่น ที่ทำงาน ชุมชนที่ทำงาน หรือหมู่บ้านผู้เจ็บป่วยที่เราดูแล คงจะเป็นกุศลมิใช่น้อย

ฉันเล่าและสาธยายความฝันให้คุณยาย(ท่านกัลยารัตน์ สินธุเดช นักวิชาการ ฯ ที่ทำงานด้วยกัน) ฟังเพื่อทราบถึงแนวคิดที่อยากทำ ให้น้อง ๆ ที่ทำงานสนุก มีความสุข และได้กุศล ในขณะที่เราปฏิบัติงาน ฉันเห็นแววตาของคุณยาย ก้าวล่วงไปในจิตใจของท่านบางส่วน เห็นถึงเป้าหมายและความเข้าใจของท่าน คุณยายถามว่า
“หัวหน้าซิพาเฮ็ดจังใด เว่าสูฟังแน” (หัวหน้าจะพาทำอย่างไร อธิบายให้ฟังหน่อยคะ)
“ผมวาซิพาเอ็ดบุญเดือนละเทือ เทือละอนามัย แล้วเฮาเอาเครื่องสังฆทาน ข้าวต้ม ขนมนมเนย บูชาเอานำหลวงพ่อหรือพระครูบาอาจารย์ ไปเยี่ยมยามคนไข้ ผู้พิการ คนทุกข์คนยาก ฮวมกับผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ซิดีบ่ ยายวาจังได๋”
“ โอ้ย หัวหน้ากะดีแล้ว อยากมีคนพาเฮ็ด” (โอ้ หัวหน้าค่ะดีจังเลย อยากมีคนพาทำ)
ทันใดที่ฉันสาธยายจบลง คุณยายมีร้อยยิ้มอย่างชดชื่นออกนอกหน้าพร้อมกับปรบมือ ด้วยท่าทีที่อ่อนช้อย และแผ่วเบา ซึ่งไม่แปลกตาสำหรับฉันเลย เพราะยายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมและถือศีลเคร่งกว่าใครบางคนที่ในย่ามมีใบสุทธิและอะไรบางอย่าง แล้วครองจีวร แต่หลอกเด็กนักเรียนทางอินเตอร์เน็ตและมือถือ (นี่ก็บาปสำหรับฉันแม้แต่พระยังไม่เว้น) ความรู้สึกบนใบหน้าของยายช่างต่างจากวันก่อนยังกับหุบเหวและผาชัน ที่เราไปเยี่ยมคนไข้ บ้านคำปะโอ ตำบลกุดโดน ที่สถานีอนามัยส่งรายงานเยี่ยมบ้าน (ยม.2) และหางบัตรเยี่ยมบ้าน(Daily card daily mind) ส่งเข้ามามากและถี่เป็นที่น่าสังเกต
เป็นที่รู้กันว่าบ้านนี้เป็นหมู่บ้านย้อ เนื่องจากอำเภอห้วยเม็กมีชนเผ่าย้อ (ยอ โย้ เหยอะหรือญอ) เป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มชนเผ่าย้อมากที่สุดในจังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมทีมีบรรพชนอยู่ในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหา-
สารคาม บ้านท่าขอนยาง เชื้อชาติมาพร้อมขุนบรมชาวเวียงจันทร์แยกตัวออกเป็นก๊กขึ้นที่เมืองคำเกิด อพยพราษฎรมาสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพเมื่อราว พ.ศ. 2387 และได้พระราชทานนามพระคำก้อนเป็น พระสุวรรณภักดี
ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ชนเผ่าย้อคล้ายคลึงชนเผ่าผู้ไท ภาษา การแต่งกาย พิธีกรรมใกล้เคียงกัน บางตำนานว่ามีความสัมพันธ์กัน ย้อมีภาษา พิธีกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย ฯ เป็นของตนเอง ปัจจุบันในอำเภอห้วยเม็กมีกระจายทุกตำบล แต่มีอาศัยหนาแน่นที่บ้านนาค้อ คำปะโอ หนองกุงไท หนองโน ห้วยมะทอ หนองปะโอ ฯ และมีเครือญาติกับชนเผ่าย้อในต่างอำเภอ จังหวัดอื่น เช่นบ้านขามเฒ่า อำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร อำเภอบ้านแพง บ้านดงเย็น จังหวัดมุกดาหาร บ้านหนองไม้ตาย หนองหิน น้อยจำปี อำเภอหนองกุงศรี บ้านสิม บ้านสา บ้านหนองแวง อำเภอยางตลาด บ้านกุดจิก บ้านดงกลาง บ้านดงบัง อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านนายุง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี บ้านท่าอุเทน บ้านนาทม จังหวัดนครพนม ฯลฯ
ฉันไม่ใช่คนเกิดในบ้านคำปะโอ แต่หญิงผู้ประเสริฐอุ้มท้องเบ่งเรา โอบอุ้ม ประคองฉันดื่มนมตัวเองตั้งแต่วันแรก ก็เป็นคนมีเชื้อชาติ ย้อ และฉันก็เรียกคำว่า “แม่”จวบจนถึงวันนี้ แม่เล่าให้ฟังเสมอว่า ย้อมีประเพณีต่างจากไทลาว อาทิการแต่งงานในชนเผ่า เครือญาติ ฯลฯ มีโรคบางอย่างติดมากับพันธุกรรม แล้วมีอีกบางอย่างอีกหลาย.... ดังคำกล่าวจนติดปากจากผู้คนภายนอก(ใจ)เสมอว่า..
“เว้ายากคือคนย้อแท้” (พูดยากเหมือนคนย้อ)
“สกปรกคือบ้านย้อ”(สกปรกเหมือนบ้านคนย้อ)
แล้วอาจทำให้ย้อไม่เปิดชุมชน รักษาอัตตาลักษณ์ แต่อีกด้านหนึ่ง โรคบางอย่างมากกว่าชุมชนอื่นอาทิ โรคจิต ความพิการทางสมองและการเรียนรู้ จากวันที่ฉัน คุณยาย และน้องสมศรี (น้องหัวหน้าสถานีอนามัย) ลงเยี่ยมคนไข้โรคจิตเวชและผู้พิการทางสมองและการเรียนรู้ พบว่ามีจำนวน 14 ราย และแปลกมีเพียง 2 นามสกุล คือ เหมกุล และอาจดวงดี
หนึ่งในสิบสี่ นายอุทิศ เหมกุล อายุ 34 ปี บ้านเลขที่ 57 หมู่ 5 บ้านคำปะโอ อุทิศมีความพิการทางสมองมาตั้งแต่ดวงตกฝากแล้วลืมตาดูโลก เขามีอาการลมชักบ้าหมู และจิตเวช ร่างกายค่อนไปทางอ้วน ล้ำ เหมือนคนมีลักษณะของโรคเฉพาะทั่วไป และต่างจากคนอื่นเห็นแล้วจำได้ จมูกที่โตเพราะมีเนื้อบวมน้ำอุดหนึ่งข้าง แล้วทำให้หายใจลำบาก น้ำมูก น้ำตาซึมไหลตลอดเวลา พูดลำบากแทบฟังไม่รู้เรื่อง เขามีหญิงชราภาพนั่งเคียงข้างเพียงคนเดียวที่คอยฟูมฟักและรองรับแรงคลุ้มคลั่งเมื่อเขาไม่รู้สึกรู้สา บ้าคลั่งเมื่อยามเขาขาดยา แขนขาอ่อนแรง เรี่ยวแรงไม่มีแม้กระทั่งลุกนั่ง ตอนที่เขาทานยาเกินขนาด แต่เมื่ออุทิศสงบลงแล้วบ้าง อุทิศจะเรียกแม่และนอนหนุนตักอันผอมแห้ง มืออีกข้างโอบกอดเอวอันบอบบาง ของนางทองผัน เหมกุล ฉันเห็นแล้วฟังยายเล่า ชวนคิดบังอาจต่อว่าเทวดาและแอบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลให้เขาว่า อุทิศแล้ว อาจดวงดี จะเป็นผลอย่างใดหนอเทวดา คุณยายทองผัน กรากกรำชีวิตมาร่วม 78 ปี มีบุตรครึ่งโหล ชาย 3 คน รวมอุทิศ หญิง 3 คน ออกเรือนและมีครอบครัวกันหมดแล้ว ดูยังแข็งแรง คล่องแคล่ว แต่แววตาเศร้าซึมอย่างไร้ร่องรอยของความสวยในวัยสาว คุณยายเล่าให้ฟังถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก พร้อมกับบ่นน้อยใจให้ลูก ๆ ที่มีร่างกายแข็งแรง
“คุณหมอ เอ้ย
.....ข้าวพันธุ์ดีถามหานา ลูกที่ดีถามหาพ่อหาแม่....แม่นเต๋อ
..... บ่กินผัก บ่กินมีเหยื่ออยู่ท้อง บ่เอาพี่บ่เอาน้องซิเสียหน่อเสียแนว .....มันซิเป็นปานนี้แล้วคุณหมอ
คั้นข่อยขอได้ข่อยขอให้อุทิศไป(ตาย)ก่อน แล้วข่อยไปนำหลัง คั้นเพิ่นมานำหลังข่อย ผู้ใดจักสิมาเบิ่งให้ข่อยหนอ ...คุณหมอ”
น้ำเสียงถ้อยคำ และความหมาย ยากที่กั้นน้ำตาจนฉันกลัดกลืนมันดิ่งสู่เบื้องลึกของหัวใจ ด้วยอารมณ์และความรู้สึกของปถุชนในภพภูมิโลกีย์ แม้แต่สรรพสัตว์ไร้สติที่พระเจ้าไม่ให้มา ก็น้อยมากที่คิดและทำได้ลงคอ มดแดงตัวน้อยยังหวงไข่ แม่ผู้ยิ่งใหญ่ มนุษย์กลับคิด หวังเช่นนั้น ด้วยเหตุใดหนอ
ฉันสังเกตเห็นยาย(ท่านกัลยารัตน์)และน้องสมศรี ซึมเศร้าไม่แพ้กันเลย แล้วพูดบ่ายเบี่ยงและเข้าไปจับมือคุณยายทองผัน และอุทิศ พร้อมกับถามเบา ๆ ว่า
“คุณยายถ้ามีเสื้อผ้าเก่า แต่มีสภาพดีขนาดคุณยายใส่ได้และอุทิศใส่แล้วหล่อจะรับไหม”
“เอาคุณหมอ เพิ่นใส่ ก็เอามาจากอาจารย์ใหญ่ กับนายอำเภอคนก่อนเพิ่นมากับหัวหน้านี่ละเอามาให้”
ฉันรู้ว่ายายคิดอะไรในใจ จึงยิ้มให้ ก็คงโล่งใจที่คุณยายทองผันรับที่เสนอ จากนั้นบอกยาย เราลากลับว่าจะมาเยี่ยมอีกครั้งหรือหลายครั้งแล้วแต่โอกาสแต่ไม่ได้นัดวัน เวลา แล้วคุยกันในรถยนต์ว่าจะทำอย่างไร และเชื่อมกับการทำบุญของเราอย่างไร ที่ไหนก่อน ตกลงกันบนรถยนต์ เริ่มต้นในโอกาสเลี้ยงรับน้องใหม่พร้อมทำบุญประจำปีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยเม็ก

หลังจากกำหนดนัดวันดี คุณป้าสรินยา ผลเรือง หัวหน้าสถานีอนามัยอาวุโส และน้องพรรณีหัวหน้าสถานีอนามัยพิมูลได้มอบหมายจัดเตรียมอาหาร น้องปรีชา พี่น้อยและน้อง ๆ จัดเตรียมสถานที่สำนักงานชั้นบน คุณยายก็เสนอให้ฉันไปกราบนิมนต์พระภิกษุ วันงานทำบุญทุกคนและชาวบ้านละแวกใกล้เคียงกระตือรือร้นมาตั้งแต่เช้า แต่ดูเหมือนน้องพรรณี อาจารย์คำเติม นระศรีหัวหน้าสถานีอนามัยบ้านหาด แต่งตัวเหมือนจะเข้าบรรยากาศไปวัดทำบุญ จนน้อง ๆ แซว ว่าทั้งสองจะเข้าพิธีสู่ขวัญรอบสอง เราจัดสถานที่พร้อมแล้วกราบนิมนต์ พระอาจารย์มหามีชัย เจ้าอาวาสวัดธรรมพิทักษ์ รับถวายภัตตราหาร ท่านได้เมตตาเทศนา น่าประทับใจ .....

“อาตมา ยินดี และขอชื่นชม หน่วยงานของสาธารณสุขที่ได้เห็นความสำคัญวัฒนธรรม ประเพณี น่าเอาเป็นตัวอย่าง เมื่อก่อนหรือเดี๋ยวนี้หน่วยงานราชการเมื่อรับเจ้าหน้าที่ใหม่ หรือย้ายไป ทีไรจัดงานโต๊ะจีน ร้องเพลง สังสรรค์ สาธารณสุขกล้าเปลี่ยนแปลงมาทำบุญเลี้ยงพระ เยี่ยมคนไข้ ผู้ยากไร้ผู้พิการ... อาตมาที่มารับกิจนิมนต์ก็มิใช่จะมาฉันเช้า ลำพังอยู่วัดก็พออิ่มได้ แต่มานี้เห็นโอกาสที่จะให้ความรู้ให้ญาติโยมเกิดปัญญา เกิดปัญญาอย่างไร อย่างเช่นวันนี้เราทำบุญได้กุศล บุญคืออะไร บุญคือความดี ทำดี คิดดี ได้ดีทันที ไม่ใช่หวังผลของความดีความชอบ กุศลคืออะไร กุศลคือความฉลาด ฉลาดเลือก ฉลาดทำ ฉลาดให้ อย่างที่เราจะนำเครื่องบริจาคทาน ขนมนมเนย อาหารหวานคาวไปให้ คนไข้ คนด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ นั้นแหละความฉลาดของคนคิดแล้วพาเราทำ มีพุทธประวัติ ตอนพระอนุรุทธเถระ ผู้ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ ไม่มี ……ญาติโยมคุณหมอถือว่าโชคดีทำบุญทำความดีบนที่ทำงาน ทำกุศลบนอาชีพราชการ แม้พระอนุรุทธเถระ ยังหาโอกาสสร้างกุศล ถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี จึงได้รับผลมหากุศลกรรมเป็น เจ้าชายอนุรุทธ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนศากยะ ......“

เป็นที่น่าประทับใจ พระอาจารย์ได้กรุณาแสดงธรรมด้วยความเมตตา ชี้ทางสว่าง ฉันเองเพิ่งรู้คำปริศนาท้ายรถยนต์ไปรษณีย์ท่านหนึ่ง เขียนว่า “ธรรมไมสว่างจ๊ะ” ฉันรู้แล้ว(อยากร้องดัง ๆ ) “ธรรมมะสว่างใจ “ แล้วบ่ายของวันดีวันนี้พวกเราก็ไปเยี่ยมอุทิศ และญาติผู้ร่วมเผ่าพันธุ์ย้อ ที่สังคมสร้างและยัดเหยียดความเป็นอื่น พร้อม ๆ กับกีดกันเป็นกลุ่มคนชายขอบ..ป่า(เสื่อมโทรมยังหวงห้าม) แต่เจียมตัว นอบน้อมมาเนิ่นนาน จนแม้กระทั้งภาษาของตัวเองก็ไม่กล้าร้องเต็มกระพุ้งแก้มและลำคอ เกินขอบเขตชายรั้วหมู่บ้านออกมา.......พวกเรา น้อง ๆ ครบถ้วนทั่วร่วมสร้างสุข คละ..ด้วยภาพ กิจกรรม แจกถุงบรรจุเครื่องทาน ขนมนมเนย อาหาร และเครื่องห่มรอบสองโดยกล้องชื่อญี่ปุ่นไททำ ไทซื้อ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ สนุกลืมแก่เพราะรอยย่นที่แพทย์ดึงยึดตรึงไม่ได้ ตอนเสนอถ่ายรูปบนใบหน้า และอ่อนวัยของน้องใหม่ที่กำลัง...... หัดและฝึกปรือ ทำบุญอุทิศหา...อธิฐานจิตในใจ..... แล้วอาจ(จะ)ดวงดี

เรามีนัดจะทำบุญเลี้ยงพระอีกครั้งที่สถานีอนามัยหาดทรายมูล ตำบลพิมูล ครั้งหน้าจะมีญาติธรรมมาเพิ่ม อิ่มบุญ อิ่มใจ ให้จิตใจผ่องใส เป็นกรรมนิมิต หรือคตินิมิต ปรากฏขึ้นทุกช่วงเวลา ขณะมีชีวิตอยู่ และผู้ร่วมโลกวาระสุดท้ายอันหวังไปสู่สุคติ (จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา) ด้วยวาจาท่าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยเม็ก นายแพทย์วิษณุกร อ่อนประสงค์ กล่าวชื่นชมอีกด้วยแรงผู้เชี่ยวชาญพิเศษ “เป็นกิจกรรมที่ดี คนคิดก็ดี เพราะชื่อมีดี(......ดี) แล้วประกอบกรรมดีจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจาก.... ดี ดี ดี และก็ดี สร้างวัฒนธรรม สร้างกรรม สร้างกุศล.....สร้างสุข...คละ....ภาพ ขอร่วมด้วยคณะบุคลากรของโรงพยาบาลห้วยเม็ก” และเจ้าหน้าที่ พนักงาน จากองค์การบริหารส่วนตำบลพิมูล ครูในโรงเรียนบ้านหาด และพี่น้อง อสม. อาจารย์คำเติม นระศรี กล่าวเพิ่มเติมด้วยชักชวนญาติธรรมเพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่มีกิจกรรมในชุมชนร่วมด้วยเสมอ และเป็นประเพณีไปแล้ว

ย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อย้อ


พจน์ กรุงศรี
28 กรกฏาคม 2553





ผู้โพสต์ : เรื่องเล่าสนุก [Wed, 25 Aug 2010 08:22 182.52.188.85]
 
หน้า : 1
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน