รถเข็น (0 ชิ้น)
 
R2R : จากงานประจำสู่ผลงานการวิจัย

เขียนโดย
ศุกร์ 24 กรกฎาคม 2552 @ 04:22


การประชุมวิจัยจากงานประจำ หรือ Routine to Research (R2R)
ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ในระหว่างวันที่ 16-17 ก.ค. 2552
ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี ที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
จากกการสมัครเข้าร่วมงานในครั้งนี้กว่า 1,500 คน จนต้องปิดรับก่อนกำหนด

 

ปีนี้มีการประกวดงานวิจัยจากงานประจำเหมือนเคย
มีโครงการที่ส่งเข้าประกวดทั้งจากหน่วยงานสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิและโรงเรียนแพทย์

นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ได้ให้ความคิดเห็นไว้ในนิตยสารสุขศาลา ฉบับที่ 7
ความตอนหนึ่งว่า

“การวิจัยจากงานประจำนั้นด้านหนึ่งเป็นการแปลงประสบการณ์ส่วนตัวให้เป็นความรู้สาธารณะ ที่สำคัญ การวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก
ไม่ใช่เรื่องใหญ่ และไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เป็นการแปลงประสบการณ์ส่วนตัวให้เป็นความรู้สาธารณะ
และสามารถถ่ายทอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นได้
สำหรับระดับปฐมภูมินั้น ประเด็นการวิจัยจะหลากหลายกว่าระดับอื่น เพราะเป็นระบบบริการที่ต้องทำทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
ทั้งในระดับชุมชนและในสถานบริการ การประกวดจึงมีการแยกประเภทเพื่อให้ครอบคลุมความหลากหลาย”


มีผลงานที่ “เข้าตากรรมการ” เป็นรางวัลยอดเยี่ยม 5 รางวัลและรางวัลดีเด่นอีก 10 รางวัล ใน 5 ด้านแตกต่างกัน ดังนี้


* รางวัลยอดเยี่ยม 5 เรื่อง ได้แก่
1. การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนแบบองค์รวม : กรณีศึกษาบ้านทางสาย
ของทีมงานสถานีอนามัยหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดย เชาวนี คำโฮมและคณะ
2. ดอกไม้ในพายุ : กรณีศึกษาผ่านมุมมองประสบการณ์ของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงซ้ำซากในครอบครัว
โดย บุษบงก์ วิเศษพลชัย สถานีอนามัยนาเกลือ จ.สมุทรปราการ
3. ใบตองวิเศษพิชิตแผล แคร์ความรู้สึก
โดย อรทัย  ไพรบึงและทีมงานสถานีอนามัยบ้านปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
4. ทีมสุขภาพปฐมภูมิ : ความลักลั่นและความเหลื่อมล้ำในสหวิชาชีพ
โดย เรวดี รังษีโกศัย สถานีอนามัยโคกเคียน จ.นราธิวาส
5. โครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของสถานีอนามัยหลังเขา
โดย เกศนีย์ คงสมบูรณ์และทีมงานสถานีอนามัยหลังเขา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

* รางวัลดีเด่น 10 เรื่อง ได้แก่ 
1. เยาวชนจิตอาสา : กับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน
โดย จรูญ อภิวัฒนพงศ์และทีมสถานีอนามัยตำบลป่าสัก แพร่ 
2. โครงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยครอบครัวและชุมชน
โดย เสาวคนธ์  แสงนวลและทีมศูนย์สุขภาพชุมชนหนองคัน อำเภอหล่มสัก เพชรบูรณ์ 
3. แรงงานอ้อยกับการดื่มสุรา กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสาน
โดย อดิเรก เร่งมานะวงษ์และทีมสถานีอนามัยโอโล อ.ภูเขียว ชัยภูมิ 
4. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่บ้าน
โดย บุษบา  เหล่าพาณิชย์กุล และทีมศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย ต.สันทรายหลวง อ.สันทราย เชียงใหม่ 
5. การตีตราบาปจากเอดส์/เอชไอวี : ความเงียบที่ซ่อนอยู่ภายใต้บริบทวิถีชุมชนมุสลิม
โดย อุสมาน แวหะยีและทีมศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 
6. วัฒนธรรมความเชื่อกับโรคมะเร็งในชุมชนกะเหรี่ยงแม่สะเรียง
โดย โสภาพรรณ สิงห์สา จากสถานีอนามัยสบหาร  ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 
7. ก่อนจะไม่มีตัวตน : การเลือกรูปการตายในระยะสุดท้ายของชีวิต
โดย อัจฉรา บุญสุข สถานีอนามัยบ้านสะลวงนอก  จ.เชียงใหม่  
8. อำนาจของการตัดสินใจในการวางแผนครอบครัวโดยผ่านมุมมองด้านเพศของชนเผ่าลาหู่
โดย ฤทธิรงค์ หน่อแหวน สถานีอนามัยปางมะหัน จ.เชียงราย  
9. การตีตรากับการตีตรวน
โดย ณัชฐกานต์  เหมือนตา สถานีอนามัยบ้านส้มป่อย จ.ศรีสะเกษ
10. บริการปฐมภูมิรวมพลังจิตอาสา แก้ปัญหาบุหรี่ในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
โดย วิจิตรา บุญแจ้ง และทีมศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านติ้ว ต.บ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์

ภาพความสำเร็จและความภาคภูมิใจของคนทำงานปฐมภูมิ

       
       
       
       
       

 



รวมบทความประกอบการประชุมวิชาการออนไลน์ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
หนังสือจดหมายเหตุ COVID-19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤต (ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2563)
สไลด์ประกอบการอบรม "โครงการวิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น"
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน