รถเข็น (0 ชิ้น)
 
หน้า :
โครงการประกวดของสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ เพื่อสะท้อนแง่งาม คุณค่าบริการปฐมภูมิ (3821)

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ดำเนินโครงการเพื่อสื่อสะท้อนคุณค่า เอกลักษณ์บริการปฐมภูมิ
ดังนี้

สังคมปรนัยกับการเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่ (3753)

โดย นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2551

การศึกษาในระบบโรงเรียนกำเนิดขึ้นควบคู่กันกับระบบอุตสาหกรรมในสังคม ตะวันตก
เพราะเมื่อแรกเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมก็มีคนงานจำนวนมากที่ต้องมาทำงานในโรงงาน 

ประชามติ มิจฉาทิฐิกับสังคมปรนัย (32767)

สำหรับคนชั้นกลางและมนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไป วันหยุดสุดสัปดาห์เป็นวันที่เราต้องหาทางจัดการกับเวลาว่างที่ไม่มีภารกิจ ชัดเจนของเรา คำถามที่มักได้ยินกันเสมอก็คือการที่จะต้องเลือกว่าวันหยุดนี้จะนอนดูทีวี อยู่บ้าน หรือจะไปเดินห้าง

ถ้าเลือกที่จะไปเดินห้างก็ต้องถามต่อไปว่า จะเลือกไปเดินห้างไหน

ผมอยากจะเรียกสังคมที่ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างไร้จินตนาการกับตัวเลือกที่ไม่เข้าท่านี้ว่า สังคมปรนัย

อารมณ์ สังคมและสมอง (2129)

คอลัมน์จิตวิวัฒน์ โดย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ 

ราว 160 ปีก่อน ใน ค.ศ. 1848 คนงานก่อสร้างทางรถไฟในนิวอิงค์แลนด์ กำลังขยายทางรถไฟในรัฐเวอร์มอนต์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ฟีนี่ส์ เกจ เป็นคนงานที่รับผิดชอบด้านการระเบิดหินที่ขวางทางตามแนวที่จะวางรางรถไฟ 
 

วิถีปฐมภูมิ (2819)

สมุดบันทึกปีใหม่ 2551 
วิถีปฐมภูมิ: สมุดพกเพื่อคนทำงานสุขภาพปฐมภูมิ 

ปีใหม่นี้ คุณมีสมุดพกดีๆ สักเล่มหรือยัง  

ความงมงาย ประชาธิปไตยตัวแทน กับอาการคลื่นเหียนทางการเมือง (2661)

ผมจำได้ว่า สมัยเป็นนักเรียนแพทย์ เรามักถูกสอนย้ำอยู่เรื่อยๆ ว่าว่าปัญหาสุขภาพของชาวบ้านในชนบทนั้นมีส่วนสำคัญเกิดจากความเชื่อผิดๆ หรือความงมงายในเรื่องไสยศาสตร์  

เสียงกับสุนทรียภาพของการได้ยิน (5951)

โดย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ 

ผมรู้จัก ศาสตราจารย์โคโซ ฮิรามัตสึ กับคุณเคอิโกะ โทริโกเอะ สองสามีภรรยาชาวญี่ปุ่นมากว่า 5 ปีแล้ว ผมคิดว่าทั้งสองเป็นคู่สามี ภรรยาที่ศึกษาเรื่องเสียงและโสตนิเวศน์ (Acoustic Ecology) ในมิติที่ลุ่มลึก ละเอียดอ่อนและน่าสนใจที่สุดในโลก  

แพทยศาสตร์ศึกษากับความเป็นมนุษย์ (12705)

ปาฐกถา
แพทยศาสตรศึกษากับการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
Medical Education and Humanized Health Care:
Envisioning Compassionate Medicine

โดย นายแพทย์ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

บ้านนี้อยู่แล้วรวย ศาสนาพุทธ กับชุดไทย (2925)

ระยะนี้ ผมมีโอกาสลงพื้นที่ทำงานวิจัยในชุมชนหลายแห่งย่านชานเมืองรอบๆ กรุงเทพฯ ตามประสานักมานุษยวิทยาที่มักสนใจและตั้งคำถามแม้แต่กับเรื่องเล็กๆ ธรรมดาๆ ทำให้เห็นได้บ่อยๆ ว่า สิ่งที่เป็นอาจไม่ใช่ที่ปรากฏให้เห็นภายนอกก็ได้  

สันติ-สุขภาวะ: สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในระบบสุขภาพ (3428)

โดย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ 

โดยทั่วไป เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง ความรุนแรงและสันติวิธีเรามักไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานในแวดวงสุขภาพและการแพทย์เท่าไรนัก โดยเฉพาะคำว่าสันติหรือสันติภาพนั้น ดูจะมีความหมายไปในลักษณะของการไม่มีสงครามมากกว่าอย่างอื่น  

ภาษา การเลี้ยงลูก กับการรับรู้โลก (2124)

ผมจำได้ว่า เมื่อครั้งลูกชายของผมเพิ่งอายุได้ 2-3 ขวบ เวลาผมหรือภรรยาเล่นกับลูก ลูกชายที่กำลังเริ่มหัดพูดของผมมักจะถามคำถามซ้ำๆ ว่า “นี่อะไรอ่ะ ๆ” พร้อมกับชี้นิ้วไปที่อะไรต่อมิอะไรที่อยู่รอบบ้านโดยไม่มีจุดหมาย 

ศุกร์เสวนาเดือนกุมภาพันธ์ (1787)

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพได้จัดการประชุมวิชาการสังคมและสุขภาพขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงบ่ายของทุกวันศุกร์ ที่ห้องประชุมสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา  

เสียงด่า หมาเพื่อนบ้าน กับสนามบินสุวรรณภูมิ (3521)

เย็นวันหยุด ผมมักชวนภรรยาและลูกออกไปปั่นจักรยานเล่นในหมู่บ้านที่สงบร่มรื่นของผม แต่ก็มักมีเรื่องต้องเดือดร้อนรำคาญใจ 

เพราะสุนัขที่บ้านบางหลังเลี้ยงไว้เฝ้าบ้านมักเห่ากรรโชกใส่เวลาเราปั่นจักรยานผ่านไป  

เรื่องเล่ากับความเป็นมนุษย์ (2927)

บทความจิตวิวัฒน์ โดย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ 

ในบรรดารูปแบบและวิธีการที่หลากหลายในการเรียนรู้ของมนุษย์ เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นความประณีตละเอียดอ่อน  

ปลาซิว หญ้าเจ้าชู้ กับนิเวศปรัชญา (3417)

อาร์น เนส (Arne Naess) กับพอตีจอนิ โอเดเชา มีชีวิตอยู่ห่างไกลกันคนละมุมโลก อาร์น เนสนั้นเป็นนักนิเวศปรัชญาชาวนอร์เวย์ ส่วนพอตีจอนิ โอเดเชาเป็นปราชญ์ผู้ทรงภูมิปัญญาของชนเผ่าปกาเกอะญอ  

ชีวิตมหัศจรรย์เพราะการเรียนรู้ (2017)

ชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 
พ่อหลวงจอนิ โอโดเชา ปราชญ์ชาวบ้านชาวปกากะญอเคยพูดถึงความมหัศจรรย์ของชีวิตที่แม้สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ถือว่าวิเศษพิสดารก็ไม่อาจเทียบได้ 
 

อำนาจของเรื่องเล่ากับการพัฒนาแนวคิดบริการสุขภาพปฐมภูมิ (2382)

ในทางสังคมวิทยามานุษยวิทยา เรื่องเล่า (narrative) ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องบอกผ่านต่อ ๆ กันไป จากปากคนหนึ่งสู่การรับรู้ของคนอื่น ๆ หากตัวเรื่องเล่าที่ถ่ายทอดออกมายังได้สร้างตัวตน (self) และอัตลักษณ์ (identity) ของผู้เล่าเรื่องให้คนอื่นรับรู้อีกด้วย  

หน้า :
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน