รถเข็น (0 ชิ้น)
 
การใช้ยาปฏิชีวนะในสังคม

เขียนโดย
พุธ 16 สิงหาคม 2560 @ 03:52


 
โครงการวิจัยยาปฏิชีวนะในสังคม
Anti-Microbials in Society (AMIS)


       การใช้ยาปฏิชีวนะทั้งในมนุษย์และสัตว์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก ทั้งเพื่อการควบคุมการติดเชื้อและการเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ในการปศุสัตว์ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะในพืชเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้นและแพร่หลายนี้ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ 

       ในปัจจุบัน ได้มีการกำหนดมาตรการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น  ความพยายามที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะนี้ถูกฝังอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานและวิถีชีวิต ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ สถาบัน และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อศึกษาหาแนวทางการแก้ไขเพื่อลดหรือละการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในบริบทที่แตกต่าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แนวทางเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดการใช้ยาปฏิชีวนะ

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ London School of Hygiene and Tropical Medicine ประเทศอังกฤษ Infectious Diseases Research Collaboration ประเทศยูกันดา และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนิน “โครงการวิจัยการใช้ยาปฏิชีวนะในสังคม: การสร้างศูนย์กลางการทำวิจัยร่วมกันทั่วโลก (Anti-Microbials in Society (AMIS): A Global Interdisciplinary Research Hub)”

โครงการวิจัยนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ สำหรับการแก้ไขปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในสังคมด้วยการทำความเข้าใจปัจจัยทางสังคม ชีววิทยา และทางคลินิก โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

       1. สร้างศูนย์กลางการทำวิจัยร่วมกันในนานาชาติเพื่อการพัฒนา หาวิธีการนำไปปฏิบัติใช้ และเผยแพร่งานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังต่อไปนี้

             1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยเพื่อให้เข้าใจมุมมองใหม่ของการใช้ยาปฏิชีวนะในสังคมโดยผ่านการฝึกฝนเรียนรู้และทำงานร่วมกัน
             1.2 เพื่อทำวิจัยที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ เน้นการพัฒนาทางทฤษฎี การทำวิจัยภาคสนามและการสร้างพันธมิตรร่วมกันในหลายประเทศ
             1.3 การเผยแพร่ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำวิจัยผ่านทางงานวิชาการ นโยบายและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

       2. สร้างงานวิจัยแนวใหม่ในประเทศไทยและประเทศยูกันดา เนื่องจากยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันและโครงสร้างพื้นฐานของคนในสังคม  งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อเข้าใจมุมมองในการใช้ยาปฏิชีวนะและหาทางเลือกที่ทดแทนยาปฏิชีวนะ  

 



 






การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม
การใช้ยาปฏิชีวนะในสังคม
แรงบันดาลใจจากในหลวง ร.๙
สถาปัตยกรรมกับการเยียวยา
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน